พระเครื่องทั้งหมด 3760 ชิ้น
ตะกร้าพระเครื่อง : ( 0 )
สารบัญหลัก
พระท่านเจ้าคุณนรฯ (1382) พระเครื่องอื่น ๆ (964) เครื่องรางของขลัง (10) พระบูชา (67)
บทความ
ประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ประวัติท่านเจ้าคุณนรฯ
ประวัติสมเด็จพระวันรัต
ตำนานพระพุทธรูป
หลัการดูพระเบื้องต้น
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติการสร้างพระเครื่อง
อ่านบทความทั้งหมด
กระดานสนทนา
เว็บบอร์ดพระวัดเทพศิรินทราวาส เว็บบอร์ดพระทั่วไป ซื้อขายแลกเปลี่ยน
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการบูชา วิธีการชำระเงิน คำถาม-ตอบ เกี่ยวกับเรา แผนที่ร้านฯ ติดต่อเรา นโยบายคุกกี้
อัตราแลกเปลี่ยน
ตรวจสอบการจัดส่งสินค้า
 
ชำระผ่านธนาคาร ธ.ไทยพาณิชย์ 114-2-16175-0 ธ.กรุงเทพ 905-0-00725-2 ธ.กรุงไทย 086-037-0-04433-9


ยันต์พระภควัม


 



          ทุกวันนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า “พระเครื่องชุดเจ้าคุณนรฯ” นั้น เป็นพระเครื่องยอดนิยมตระกูลหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายจากมหาชนชาวพุทธ เฉพาะอย่างยิ่งในราชอาณาจักรไทย จนกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งใน “จักรวาลแห่งพระเครื่อง” อันเป็นที่เลื่องชื่อลือนาม ปรากฏเกียรติประวัติกึกก้องเกรียงไกร เทิดไว้ในดวงใจของเหล่าบรรดา “นักเลงพระ” ยึดเอาเป็นสรณะที่พึ่งได้เป็นอย่างดี ชนิดที่ไม่มีวันเป็นที่สองรองใคร ในบรรดาพระเครื่องหรือเครื่องมงคลทั้งหลายในยุคสมัยปัจจุบันด้วยกันนี้

          สัญลักษณ์อันเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่ง ในบรรดา “พระเครื่องชุดเจ้าคุณนรฯ” ทั้งหลายก็คือ “ยันต์พระภควัม” หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกกันเป็นภาษาตลาดจนแพร่หลายว่า “ยันต์น้ำเต้า” จะปรากฏอยู่ด้านหลังของพระเครื่องหรือเหรียญ และเครื่องมงคลต่าง ๆ ที่ปลุกเสกหรืออธิษฐานจิตโดยเจ้าคุณนรฯ

          จนผู้คนโดยมาก หรือเกือบทั้งหมด จะเข้าใจเอาว่า “ยันต์พระภควัม” นี้เป็นยันต์ประจำองค์ท่านเจ้าคุณนรฯ

          ทั้งนี้ ก็เนื่องด้วยว่าในปัจจุบัน เมื่อได้พบเห็นพระเครื่องหรือเครื่องมงคลใด ๆ ที่มียันต์ดังกล่าวนี้ปรากฏอยู่แล้วไซร้ ก็จะทึกทักได้ในทันทีว่าเป็นเครื่องมงคลหรือ “พระเครื่องชุดเจ้าคุณนรฯ” จึงก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกันในหมู่บรรดาผู้ที่มิได้สนใจศึกษาที่มาของยันต์ อันเป็น “เอกลักษณ์” ของเครื่องมงคลในชุดเจ้าคุณนรฯ โดยเหมาเอาว่าเป็นยันต์ประจำองค์ของท่านเจ้าคุณนรฯ โดยตรง ซึ่งท่านคิดแบบของท่านขึ้นมาด้วยองค์ท่านเอง

          แต่แท้ที่จริงแล้ว “ยันต์พระภควัม” หรือ “ยันต์น้ำเต้า” นี้เป็นยันต์ประจำองค์ของ ท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งมีผู้ถวายสมญาไว้อย่างหนึ่งว่า “สมเด็จเมืองชลฯ” ด้วยท่านมีพื้นเพถิ่นกำเนิดเป็นชาวจังหวัดชลบุรี เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มีบุญญาบารมี และปฏิปทา     ศีลาจารวัตรเรียบร้อย หมดจดงดงาม เป็นที่เคารพศรัทธาของมหาชนอย่างกว้างขวางทุกชั้นวรรณะมาในอดีต ตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์ เจ้านายชั้นสูงผู้ทรงศักดิ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ผู้น้อย ลงมาจนถึงคนธรรมดาสามัญโดยทั่วไป ตลอดทั้งในวงการคณะสงฆ์ทั่ว  ราชอาณาจักร

          ประการสำคัญก็คือ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ รูปนี้ เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรฯ เป็นผู้ที่เจ้าคุณนรฯ เคารพศรัทธาเป็นอย่างสูง และเทิดทูนไว้เป็นพิเศษ เหนือพระเถระรูปใด ๆ ในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ เจ้าคุณนรฯ มีความเชื่อมั่นว่าท่านเจ้าคุณฯ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์รูปนี้เป็นพระอริยสงฆ์ ผู้บริสุทธิ์และบรรลุธรรมชั้นสูง

          รวมความว่า “ยันต์พระภควัม” หรือ “ยันต์น้ำเต้า” นี้ เป็นยันต์ประจำองค์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) พระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรฯ ซึ่งท่านได้ประดิษฐ์คิดขึ้น ประกอบด้วยอักขระขอม 6 ตัว บรรจุอยู่ภายในวงกรอบ เรียงซ้อนกันสามชั้น ลดหลั่นตามลำดับ เมื่อมองดูรูปทรงสัณฐานวงนอกแล้ว ก็จะเห็นคล้ายกับพระภควัมบดี หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “พระสังกัจจายน์” พระอรหันต์สาวกที่ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล

          เส้นวงรอบนอกของยันต์ดังกล่าว ที่ว่าคล้ายกับรูปทรงของพระภควัมบดี ซึ่งอ้วนล่ำม่อต้อนี่แหละ ที่บางคนมองเห็นไปว่าคล้ายกับผลน้ำเต้า จึงได้เรียกกันอีกนัยหนึ่งว่า “ยันต์น้ำเต้า” ไปด้วยประการฉะนี้

          ตัวอักษรขอมหรืออักขระขอมทั้งหมด ที่บรรจุอยู่ใน “ยันต์พระภควัมบดี”      ดังกล่าวนั้น แต่ละตัวมีความหมายพอจะกล่าวได้ดังต่อไปนี้

          1. อักษรตัวบนสุด อันนับเป็นแถวแรกนั้น ก็คือ “อะ” ย่อมาจากคำเต็มว่า “อรหัง” อันหมายถึง องค์สมเด็จพระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          2. อักษรแถวกลาง หรือแถวที่สองนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ตัว คือ “อุ” กับ “มะ”

          “อุ” นั้น ย่อมาจากคำเต็มว่า “อุตตมธรรม” อันหมายถึง พระธรรมอันยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบ แล้วทรงนำมาเผยแผ่ให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก

          ส่วน “มะ” นั้น ย่อมาจากคำเต็มว่า “มหาสังฆะ”  ได้แก่ พระสงฆ์หมู่ใหญ่ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธองค์ เจริญรอยพระยุคลบาท ดำรงพระศาสนา สืบมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

          3. ส่วนอักขระแถวล่างสุดคือแถวที่สาม ในยันต์นั้นมีอยู่ 3 ตัวด้วยกัน คือ

          “พะ” “ฆะ”  และ “อะ”

          “พะ” ย่อมาจากคำเต็มว่า “พุทธ”

          “ฆะ” ย่อมาจากคำเต็มว่า “โฆษะ”

          “อะ” ย่อมาจากคำเต็มว่า “อาจารย์”

          เมื่อรวมอักขระแถวล่างสุดด้วยกันทั้งหมดแล้ว ก็จะเป็นคำเต็มที่ว่า “พุทธโฆษาจารย์” อันเป็นราชทินนามตามสมณศักดิ์ ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรฯ นั่นเอง

          รวมความว่า “ยันต์พระภควัม” หรือ “ยันต์น้ำเต้า” นี้ ได้รวมเอาสัญลักษณ์ของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบองค์พระรัตนตรัย อีกทั้งองค์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์มาร่วมชุมนุมกันได้โดยครบถ้วน

          นอกจากนี้ รูปพระภควัมบดีนั้น ยังเป็นที่ยอมรับนับถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นผู้มีโชคดี และมีลาภเพิ่มพูนอุดมสมบูรณ์อีกด้วย

          ด้วยเหตุนี้ เมื่อได้มีการสร้างพระ-สร้างเหรียญ ถวายให้ท่านเจ้าคุณนรฯ ปลุกเสก จึงได้อัญเชิญ “ยันต์พระภควัม” อันเป็นอุดมมงคลดังกล่าว มาเป็นองค์ประกอบกำกับ เพิ่มความสวยงาม ความเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น จนเป็นที่นิยมแพร่หลาย ได้อัญเชิญมาใช้กันเป็นประจำ จนกลายเป็น “เอกลักษณ์” ประจำเครื่องมงคลชุดเจ้าคุณนรฯ ไปด้วยประการฉะนี้

          ปรากฏว่าเจ้าคุณนรฯ ท่านก็พึงพอใจ ด้วย “ยันต์พระภควัม” นี้ เป็นที่รวมไว้ซึ่งสิ่งอันประเสริฐสุด ที่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้เคารพสักการะเป็นชีวิตจิตใจตลอดมา อีกทั้งยังนับถือว่าเป็นยันต์อันเป็นสิริมงคลยิ่งของชาวพุทธโดยทั่วไปอีกด้วย

          “ยันต์พระภควัม” นี้ เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางแพร่หลายทั่วไป ในหมู่บรรดาศิษยานุศิษย์ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) แห่งวัดเทพศิรินทราวาส ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ มิได้สงวนสิทธิ์ใช้กันได้แต่ในเฉพาะวงการภายในเทพศิรินทร์ฯ เท่านั้นก็หามิได้

          พระเครื่องและเครื่องมงคลต่าง ๆ ที่ พระเทพสังวรญาณ (สนิท-ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “หลวงพ่อศีลขันธ์ฯ”) แห่งวัดศีลขันธาราม อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เครื่องมงคลต่าง ๆ พระสิทธิสารโสภณ (สงวน โฆสโก) หรือ “หลวงพ่อใหญ่” แห่งวัดอาวุธวิกสิตาราม บางพลัด กรุงเทพฯ จัดสร้าง ฯลฯ ก็ล้วนแต่ใช้ “ยันต์พระภควัม” หรือ “ยันต์น้ำเต้า” ที่ว่านี้ประทับกำกับด้วยกันทั้งสิ้น

          ทั้งนี้ ด้วยพระเถระทั้งสองท่านที่กล่าวมา ต่างก็เป็นศิษย์ในท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดเทพศิรินทราวาส พระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรฯ ด้วยกัน

          อีกประการหนึ่ง ก็คงจะเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่า “ยันต์พระภควัม” นี้ เป็นที่รวมสัญลักษณ์อันล้วนเป็นอุดมงคลยิ่ง ตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง จึงถือกันว่าเป็นยันต์ศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาศิษย์วัดเทพศิรินทราวาสทุกรุ่นโดยทั่วหน้า ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ก็ตาม

          โดยเหตุที่พระเครื่องและเครื่องมงคลต่าง ๆ ที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) แห่งวัดเทพศิรินทร์ฯ ปลุกเสกก็ดี หรือเครื่องมงคลต่าง ๆ ที่วัดในเครือของวัดเทพศิรินทร์ฯ เจ้าอาวาสต่างก็เป็นศิษย์ในท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้างขึ้นก็ดี ตลอดจนพระเครื่อง เหรียญ และเครื่องมงคลต่าง ๆ ที่ท่านเจ้าคุณนรฯ ปลุกเสกก็ดี ต่างก็ล้วนมี “ยันต์พระภควัม” หรือ “ยันต์น้ำเต้า” ประดับกำกับอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น จึงก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หลงผิด ในหมู่บรรดานักเลงพระเครื่อง ที่นิยมในองค์เจ้าคุณนรฯ เป็นจำนวนมาก คิดว่าพระเครื่องหรือเหรียญเครื่องมงคลที่มียันต์ดังกล่าวกำกับอยู่นั้นเป็นของที่ปลุกเสกโดยท่านเจ้าคุณนรฯ ทั้งสิ้น

          นอกจากนี้ เครื่องมงคลอีกมากมายที่ได้สร้างขึ้นภายหลังที่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้มรณภาพไปแล้ว ต่างก็ใช้ “ยันต์พระภควัม” อีกเช่นเดียวกัน ซึ่งล้วนแต่เป็นเครื่องมงคลที่สร้างขึ้นในหมู่บรรดาศิษยานุศิษย์ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) และของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต ตลอดจนบรรดาผู้ที่เคารพศรัทธาในพระคุณเจ้าทั้งสองรูปนี้

          ด้วยเหตุดังได้กล่าวมานี้ เรื่อง “ยันต์พระภควัม” หรือ “ยันต์น้ำเต้า” ที่กำกับอยู่บนเหรียญพระเครื่องต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษา แสวงหาข้อเท็จจริงถึงเรื่องราวที่มาของเครื่องมงคลนั้น ๆ ให้ดีด้วยความรอบคอบเสียก่อน อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินว่าเครื่องมงคลนั้นเป็นของที่เจ้าคุณนรฯ ท่านได้ปลุกเสกไปเสียทั้งหมด

.....................................

 

 
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่ง

พระเครื่องแนะนำ

25-2-66
พระบูชารูปเหมือนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เจริญ


โชว์ บาท

25-2-66
พระรูปเหมือนใบธิ์ เนื้อนวโลหะ ปี 2512 แบบตอกโค๊ด


30000 บาท

25-2-66
พระนาคปรกใบขนุนเนื้อชินสังฆวานร พระสวยเดิม


9500 บาท

25-2-66
พระนาคปรกใบโพธิ์ 7 เศียร พิมพ์เล็กเนื้อนวโลหะ


AC บาท
บูชาแล้ว

25-2-66
เหรียญกนกข้างพิมพ์ใหญ่บล็อก ม.มีจุด (นิยม)


18500 บาท

25-2-66
พระไตรภาคีพิมพ์รูปเหมือนใหญ่เลี่ยมทองอย่างหนา


BD บาท
บูชาแล้ว

24/2/2566
พระปิดตา พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ เนื้อผงใบลาน ฝังตะกรุด


57000 บาท

24/2/2566
เหรียญเขียวในโลง หายาก เป็นเหรียญที่ใส่ไว้ในโลงท่านฯ


โทรถาม บาท

24/2/2566
พระสมเด็จ 3 ชั้นหลังยันต์นูน (เนื้อน้ำอ้อย)พิมพ์จัมโบ้


8000 บาท

21/02/66
เหรียญหลังเต่ารุ่นแรก บล็อกยันต์เคลื่อน


48000 บาท

6/10/65
เหรียญเขียวในโลง (เหรียญเอเชียนเกมส์) หายาก


โทรถาม บาท

6/10/65
พระผงหลวงพ่อพรหม รุ่นฉลองมณฑป พิมพ์ระฆังใหญ่


โทรถาม บาท

9/8/65
พระกริ่งสายฟ้า ตอกโค๊ต 1 ตัว


โทรถาม บาท

28/06/63
พระบูชารูปเหมือนท่านเจ้าคุณนรฯ รุ่นแรกหน้าตัก 5 นิ้ว


โทรถาม บาท

27/12/61
ออกใบรับรองพระแท้ ตอนนี้ท่านสามารถออกใบรับรองพระแท้ได้แล้วนะครับ ในนามร้านศักดิ์ ตลิ่งชัน


บาท

27/12/61
ออกใบรับรองพระแท้ ตอนนี้ท่านสามารถออกใบรับรองพระแท้ได้แล้วนะครับ ในนามร้านศักดิ์ ตลิ่งชัน


บาท

27/12/61
ออกใบรับรองพระแท้ ตอนนี้ท่านสามารถออกใบรับรองพระแท้ได้แล้วนะครับ ในนามร้านหมีพูห์ ปู่ทิม


บาท

27/12/61
ออกใบรับรองพระแท้ ตอนนี้ท่านสามารถออกใบรับรองพระแท้ได้แล้วนะครับ ในนามร้านโต้ ท่าพระจันทร์


บาท

19/12/61
เหรียญหลังเต่า บล็อกยันต์เคลื่อน สภาพสวยเดิม ๆ จมูกโด่ง ผิวดี สภาพนี้หายากแล้วครับ


G บาท
บูชาแล้ว

3/10/61
พระสมเด็จวัดวิเวกวนารามหลังยันต์นูนปั้มยันต์หมึก


โทรถาม บาท

22/9/60
พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์เตารีดหลังยันต์ เนื้อตะกั่วชุบทอง สภาพสวยเดิม ๆ


โทรถาม บาท

25/07/2560
เหรียญเม็ดแตง หน้าผาก 3 เส้นปีกกา หัวขีด มาพร้อมเลี่ยมจับขอบฝังเพชร


โทรถาม บาท

26-04-60
ออกใบรับรองพระแท้
ตอนนี้ท่านสามารถออกใบรับรองพระแท้ได้แล้วนะครับ ในนามร้านศักดิ์ ตลิ่งชันในสายพระเครื่องของท่านเจ้าคุณนรฯ


โทรถาม บาท

11-4-60
ขันน้ำมนต์ วัดเทพศิรินทราวาส สร้างปี 2495 สภาพสวยเดิม ๆ สร้างน้อย


โทรถาม บาท

1-2-60
เหรียญกนกข้างพิมพ์ใหญ่ เนื้อเงิน บล๊อกนิยมสวยมาก มาพร้อมตลับทอง


โทรถาม บาท

พระเครื่องแนะนำทั้งหมด