พระเครื่องทั้งหมด 3760 ชิ้น
ตะกร้าพระเครื่อง : ( 0 )
สารบัญหลัก
พระท่านเจ้าคุณนรฯ (1382) พระเครื่องอื่น ๆ (964) เครื่องรางของขลัง (10) พระบูชา (67)
บทความ
ประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ประวัติท่านเจ้าคุณนรฯ
ประวัติสมเด็จพระวันรัต
ตำนานพระพุทธรูป
หลัการดูพระเบื้องต้น
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติการสร้างพระเครื่อง
อ่านบทความทั้งหมด
กระดานสนทนา
เว็บบอร์ดพระวัดเทพศิรินทราวาส เว็บบอร์ดพระทั่วไป ซื้อขายแลกเปลี่ยน
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการบูชา วิธีการชำระเงิน คำถาม-ตอบ เกี่ยวกับเรา แผนที่ร้านฯ ติดต่อเรา นโยบายคุกกี้
อัตราแลกเปลี่ยน
ตรวจสอบการจัดส่งสินค้า
 
ชำระผ่านธนาคาร ธ.ไทยพาณิชย์ 114-2-16175-0 ธ.กรุงเทพ 905-0-00725-2 ธ.กรุงไทย 086-037-0-04433-9


เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์



ไปกับชีสามคน

การศึกษาของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ก้าวหน้ามาตามลำดับเหลืออีกเพียงปีเดียวก็จะเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่โรงเรียนชลราษฎรอำรุง โยมผู้ชายตั้งใจให้เข้ามาเรียนแพทย์ที่กรุงเทพฯ โดยขั้นแรกจะให้เข้าเรียนที่วชิราวุธวิทยาลัยตามความนิยมของคหบดีในสมัยนั้น โยมผู้ชายเตรียมบ้านพักที่กรุงเทพฯ เอาไว้เป็นบ้านของสหายผู้เป็นคหบดีเมืองชลด้วยกัน แต่วันหนึ่งโยมผู้ชายทราบข่าวว่ามีช่างปั้นพระมาอยู่ที่วัดต้นสน ช่างปั้นพระคนนี้มีความสามารถในการนั่งทางใน โยมผู้ชายอยากทราบอนาคตที่วางไว้ให้ลูกชายจะเป็นอย่างไรจึงพาเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ไปหาช่างปั้นพระที่วัดต้นสนแล้วสอบถาม หลังจากเข้าสมาธิด้วยการเพ่งกสิณน้ำในขัน ช่างปั้นก็พยากรณ์เป็นปริศนาว่า “ อีกสองปีจะไปกับชีสามคน ” ถึงจะมีศรัทธาในเรื่องนี้ แต่ครั้งนี้โยมผู้ชายไม่เชื่อถือเลย เพราะทุกอย่างได้เตรียมการไว้หมดแล้ว และโอกาสที่จะข้องแวะกับชีที่หมายถึงนักบวชผู้หญิงนุ่งขาวห่มขาวนั้นก็มีน้อยเต็มที แต่ก็เหมือนกรรมบันดาล ในปีนั้นเองเด็กเรียนเก่งอันดับหนึ่งของโรงเรียนชลฯ อย่างเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ กลับสอบตกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ทั้งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้การสอบในสมัยก่อนเป็นการสอบโดยวัดผลรวม ข้อสอบของเด็กนักเรียนทุกคนต้องเอาไปตรวจที่กรุงเทพ ฯ เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เล่าให้ฟังว่า ตอนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ไปบอกโยมผู้ชายว่าสอบไม่ผ่าน โยมผู้ชายกำลังทำงานอยู่หลังบ้าน โยมผู้ชายมิได้ว่าอะไรสักคำ ได้แต่บอกว่าสอบตกก็สอบให้ผ่าน เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ จึงต้องเรียนซ้ำชั้นอีกหนึ่งปีทำให้การเตรียมตัวเข้ากรุงเทพ ฯ เพื่อเรียนต่อต้องหยุดชะงักลงก่อนในปีที่เรียนซ้ำชั้นนั่นเอง ครูประจำชั้นคือ ครูย้อยกลับให้นักเรียนซ้ำชั้นคือ เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นครูสอนเพื่อนรุ่นน้องในห้องทุกวิชา

          แต่หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ  ก็มิได้เข้ามาเรียนต่อดังที่ตั้งใจ กลับตัดสินใจเข้ามาบวชที่กรุงเทพ ฯ โดยในวันที่เดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ นั้น เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เดินทางมาพร้อมกับพระภิกษุ ๓ รูป ได้แก่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (เจริญ ญาณวรมหาเถร)  เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ท่านเจ้าคุณพระเขมทัสสี (เอี่ยม เมฆิยเถร) เจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย และหม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ (มโนวฑฒนวโส) โยมผู้ชายจึงตีปริศนาที่ช่างปั้นพระบอกว่าอีก ๒ ปี จะไปกับชีสามคนออกว่า คำว่า “ ชี ” ของช่างปั้นพระเป็นคำที่คนโบราณใช้เรียนพระสงฆ์และคำทำนายของช่างปั้นพระก็เป็นความจริงทุกประการ เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ นิยมเล่าเรื่องนี้ให้บุคคลใกล้ชิดฟังโดยให้ข้อคิดท้ายเรื่องว่าชีวิตไม่แน่อย่าเอาแน่กับชีวิต อาจเป็นด้วยบุญบารมีที่สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อนหรือสิ่งใดก็ตามที่บันดาลให้เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ สละความสุขทางโลกเข้าสู่ความสุขทางธรรม แต่เหตุผลส่วนตัวเป็นหลักฐานหนักแน่น และช่วยประคับประคองชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ให้เจริญตลอดรอดฝั่ง ท่านให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเมื่อบั้นปลายของชีวิตว่า

          “ ที่คิดบวชไม่สึกนั้น เป็นเพราะโยมผู้ชายเคยปรารถนาที่จะบวชไม่สึกแต่โยมผู้ชายไม่มีโอกาส จึงคิดทำความปรารถนาของโยมผู้ชายให้เป็นจริง”  นี้เป็นความในใจที่ลึกซึ้งของลูกชายที่มีต่อพ่อผู้เป็นที่รักยิ่ง

เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ บรรพชาเมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๔ เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรมหาเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพกวี (จั่น วิจญจลเถร) เป็นบรรพชาจารย์ เจ้าประคุณสมเด็จเมื่อบรรพชาเป็นสามเณรก็ตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส  โดยสอบไล่ได้ชั้นและประโยคดังนี้

                สอบได้นักธรรมตรีและเปรียญธรรม ๓ ประโยค                        พ.ศ. ๒๔๗๕

                สอบได้นักธรรมโทและเปรียญธรรม ๔ ประโยค                       พ.ศ. ๒๔๗๖

                สอบได้นักธรรมเอกและเปรียญธรรม ๕ ประโยค                      พ.ศ. ๒๔๗๗

                สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค                                           พ.ศ. ๒๔๗๘

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๔๗๙ มีนิยมนามตามภาษามคธว่า นิรนฺตโร โดยมีเจ้าประคุณสมเด็นพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาวรมหาเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเขมทัสสี (เอี่ยม เมฆิยเถร) วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

                จากนั้นก็ยังคงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อ จนกระทั่งสามารถสอบไล่ได้ประโยค ดังนี้

                สอบได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค                                          พ.ศ. ๒๔๗๙

                สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค                                          พ.ศ. ๒๔๘๐

                สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค                                          พ.ศ. ๒๔๘๑

ตู้ประไตรปิฎกเคลื่อนที่

เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ นับเป็นพระเปรียญหนุ่มที่มีความรู้ทางพระปริยัติธรรมอย่างเอกอุสามารถสอบไล่เปรียญธรรม ๓-๙ ประโยคได้ติดต่อกันทุกปีไม่มีระหว่างว่างเว้น เป็นที่เลื่องชื่อลือชาของวงการศึกษาสงฆ์สมัยนั้น ท่านเป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฏกถึงขนาดที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ผู้ทรงความรู้อย่างมโหฬารยังยกย่องให้ท่านเป็นตู้พระไตรปิฏกเคลื่อนที่ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฯลฯ โดยเฉพาะด้านภาษา ท่านได้รับการยกย่องเป็นนักปราชญ์ภาษาบาลีสันสกฤต โดยสามารถอ่านและเขียนได้ทั้งอักษร   เทวนาครีและสิงหล นอกจากนั้นยังชำนาญในภาษาขอม อังกฤษ และลาติน ความรู้อันไพศาลของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เหล่านี้สามารถพิจารณาได้จากตำราและหนังสือต่าง ๆ ที่ท่านได้ชำระและนิพนธ์ซึ่งจักได้พรรณนาต่อไป

          ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง (๒๔๗๙) เป็นกรรมการตรวจชั้นบาลีสนามหลวง (๒๔๘๑) เป็นสมาชิกสังฆสภา (๒๔๘๕) เป็นพระวินัยชั้นอุทธรณ์ และเป็นอาจารย์สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย

          ถึงแม้ว่าท่านเป็นนักปราชญ์ภาษาบาลีสันสกฤตแห่งยุค ที่หาใครเทียบยากถึงขนาดที่มีผู้กล่าวว่าท่านสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับบาลีได้หมด แต่ท่านก็เคยปรารภเป็นทำนองถ่อมตัวว่าก็มีที่ไม่รู้แต่ไม่มีคนถาม ความรู้ทางภาษาของท่านจึงนับเป็นเอกลักษณ์ประจำองค์และเป็นศักดิ์ศรีของคณะสงฆ์วัดเทพศิรินทราวาส มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งในงานศพพระเถระที่วัดมหาธาตุเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ในสมัยนั้นยังเป็นเพียงพระมหานิรนตร์นั่งอยู่ในหมู่พระเถรานุเถระใต้ต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้นั้นมีต้นกาฝากเกาะอยู่ พระเดชพระคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุพจนมุนี) ได้ยินกิตติศัพท์เรื่องภาษาของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ จึงลองถามเจ้าประคุณสมเด็จ ฯท่ามกลางพระเถระว่า “ พระนิรันตร์ กาฝากภาษาบาลีว่าอะไร? ” แทบไม่ต้องคิดเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เรียนว่า “ กาฝาก ภาษาบาลีว่า รุกขขาทนี ” ท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนีถามต่อไปว่า “ แปลว่าอะไร?” เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เรียนว่า “ แปลว่า กินต้นไม้(เดิม) ” ท่านเล่าให้ฟังว่า พระเดชพระคุณพระพรหมมุนี ยิ้มและเย้าว่า “ พระนิรันตร์นี่เดา ” แต่มีพระเถระองค์หนึ่งอยู่ในที่นั้นออกปากรับประกันว่า “องค์นี้ไม่เดา” ต่อมาเมื่อฐานะเข้าเถรภูมิได้ พระเดชพระคุณพระพรหมมุนีลองภูมิที่วัดมหาธาตุ ได้คิดราชทินนามถวายว่า พระนิรุตติญาณมุนี มีความหมายว่าเก่งภาษา แต่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรมหาเถร) องค์สังฆนายก แก้เป็น พระนิรันตรญาณมุนี ตามนามฉายาของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ

          วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระนิรนตรญาณมุนี

          เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ นับเป็นพระราชาคณะที่มีอายุน้อยที่สุดในสมัยนั้นเมื่อได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เป็นพระราชาคณะก็ยิ่งเพิ่มพูนในความเป็นนักสิกขกาโม (ผู้ใคร่ในการค้นคว้า) ตามประสาวิสัยของนักปราชญ์บัณฑิตเมื่อตนรู้สิ่งใดก็ปรารถนาให้ผู้อื่นได้รู้ตามด้วย ด้วยเหตุแห่งนิสัยนี้จึงเป็นที่โปรดปรานของพระมหาเถรานุเถระในสมัยนี้เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้เรียบเรียงหนังสือเรื่องบทความหลายรสขึ้น มีสำเนาลายพระหัตถ์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ องค์นายกกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย ประทานสาธุการและประทานพรแก่เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ดังที่ได้อัญเชิญมาพิมพ์ไว้ ดังนี้

สำเนา

ที่ ๑๓๑๔/๒๔๙๖                                                                                                มหามกุฎราชวิทยาลัย

                                                                ๑๘ สิงหาคม ๒๔๙๖

                เรื่อง       มอบลิขสิทธิ์หนังสือ

                ถึง           พระนิรันตรญาณมุนี

                เจ้าคุณได้มีอุตสาหะเรียบเรียงเรื่องบทความหลายรส ประกอบด้วยเรื่อง ๑๒ เรื่อง และมอบลิขสิทธิ์ให้สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย พิมพ์เผยแพร่ต่อไป

                หนังสือที่เจ้าคุณรวบรวมขึ้นนี้ เป็นผลของการค้นคว้า เมื่อได้รับประโยชน์ส่วนตนแล้ว ยังทำให้นำหลักฐาน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไปอีกความอุตสาหะพยายาม ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วนั้น เป็นการดีการชอบ ทางศาสนาของเรา สรรเสริญการบำเพ็ญประโยชน์ จึงขอสาธุการ ในการบำเพ็ญประโยชน์ของเจ้าคุณไว้ที่นี้ด้วย

                ขอเจ้าคุณมีความเจริญงอกงามในพระธรรมวินัย และปราศจากอนิจผลตลอดกาลทุกเมื่อ

 พระวชิรญาณวงศ์   (สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์)  นายกกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย

          วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม

ในคืนวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๓๙ หลังจากเข้ารับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จมาแสดงมุทิตาเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ว่า “ดีใจด้วยมาก อยากให้เป็นสมเด็จมาตั้งนานแล้ว” เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ทรงมีเมตตาต่อเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มาก ในฐานะที่ทำงานในคณะธรรมยุตมาด้วยกัน และบุกเบิกเรื่องการศึกษาของคณะสงฆ์มาตั้งแต่ต้น เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณ ผู้อำนวยการมหามกุฎราชวิทยาลัย ก็มอบหมายหน้าที่ให้เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ชำระพระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา และเมื่อได้ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ก็ทรงมีพระบัญชาแต่งตั้งให้เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เพราะทรงมั่นพระทัยให้ภูมิธรรมของเจ้าประคุณสมเด็จฯ

          เป็นที่ทราบกันว่าเมื่อทรงมีปัญหาเกี่ยวกับการแปลชำระเรียบเรียงหนังสือต่าง ๆ แล้วจะทรงนึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ก่อนคนอื่น เพราะเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ นอกจากเป็นที่ไว้วางพระทัยแล้ว ยังเป็นผู้เปรื่องปราดถวายความเห็นได้ถูกต้องตรงตามพระอัธยาศัย ได้ยินมาว่า ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งถามพระเถรานุเถระที่ไปถวายสักการะในวันเข้าพรรษา ถึงเนื้อความชาดกว่า “ พระมหากษัตริย์องค์ใดที่ทอดพระเนตรต้นมะม่วงแล้วทรงออกบวช ?” พระมหาเถรานุเถระในที่นั้นต่างทูลถวายคำตอบ แต่เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ทราบว่าไม่มีพระเถระองค์ใดตอบถูกจึงรอให้ที่ประชุมสงฆ์นั้นกลับหมดก่อน แล้วทูลถวายคำตอบว่า “ พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นคือ พระมหาชนก” เมื่อได้เข้าเฝ้าอีกคราวหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชทรงมี รับสั่งกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า “ เรื่องที่ตอบไปครั้งที่แล้วถูกต้อง ”

ในสมัยที่เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ด้านงานตำราได้เรียบเรียงบทความเป็นหนังสือชื่อว่า เรื่องเก่าเล่าใหม่และชมดาว หนังสือรวม ๓ เล่มนี้ เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เรียบเรียงจากเรื่องเก่า  ๆ ด้วยหวังมิให้เนื้อความดี ๆ และความงดงามของภาษาสูญไปเสียและเสนอข้อสันนิษฐานเพื่อเพิ่มพูนความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ แก่ผู้อ่าน แต่หากได้อ่านแล้วจะทราบว่าหนังสือเล่มบาง ๆ เพียง ๓ เล่มนี้ อัดแน่นไปด้วยภูมิรู้ชั้นสูงทั้งทางด้านภาษาศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี  ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มิได้ทอดทิ้งคดีธรรม โดยเฉพาะชมดาวได้เพิ่มความรู้ทางดาราศาสตร์ช่วยให้ผู้อ่านได้ท่องไปในจักรวาลชมความงดงามของดวงดาวต่าง ๆ ได้กระจ่างตายิ่งขึ้น          

เป็นโหราจารย์

เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ท่านมีความรู้ทางด้านโหราศาสตร์ถึงขนาดเป็นโหราจารย์ได้ เมื่อแรกบวชท่านมีความสนใจในวิชานี้ท่านจึงได้ไปเรียนกับโหราจารย์มีชื่อและศึกษาเองจากตำราโบราณชั้นครู ประกอบกับท่านเป็นผู้มีสติปัญญาหลักแหลม ความทรงจำมั่นคงทำให้วิทยาการนี้เจริญอย่างรวดเร็วจนได้รับการนับถือว่าเป็นอาจารย์ได้ แต่เมื่อเรื่องนี้ถึงหูโยมผู้ชาย โยมผู้ชายจึงห้ามเสีย เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เ ล่าว่าโยมผู้ชายกลัวว่าจะหากินทางโหราศาสตร์จะเป็นที่อับอายแก่คนอื่นและเสียทีที่มาบวชโยมผู้ชายขอร้องให้ตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรม เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ จึงหยุดเรียนโหราศาสตร์และบริจาคตำราให้เป็นวิทยาทาน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่เคยบอกใครว่ามีความรู้ด้านนี้ไม่เคยอวดตัวแม้จะทรงจำภูมิรู้นี้ไว้ครบถ้วนจนถึงที่สุดของสังขาร ได้เห็นมาว่าครั้งหนึ่งท่านตรวจดวงลูกศิษย์ก้นกุฏิในฐานะที่ท่านเมตตาเป็นพิเศษ พบว่าลูกศิษย์คนนี้กำลังเผชิญเคราะห์กรรมอย่างหนัก หากปล่อยไปจะทำให้วิถีชีวิตตกต่ำ จนอาจถึงแก่ชีวิตได้ ท่านเรียกลูกศิษย์คนนี้มาตักเตือนให้ดำเนินชีวิตใหม่ตามที่ท่านแนะนำลูกศิษย์คนนี้ในตอนแรกไม่เชื่อว่าเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ จะมีความสามารถถึงเพียงนั้น แต่ก็ต้องยอมจำนน เพราะท่านทำนายเรื่องราวต่าง ๆ ได้แม่นยำราวกับตาเห็นไม่เว้นแม้แต่ ตัวบุคคล อายุ เพศ สถานที่ เวลาที่เกี่ยวข้อง สุดท้ายลูกศิษย์คนนั้นต้องก้มกราบแทบเท้าท่านที่ได้ให้ชีวิตใหม่ โดยที่เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ พูดอยู่ประโยคหนึ่งว่า

“เรื่องดวง ถ้ากันไม่ดู กันก็ไม่ดู แต่ถ้าดูแล้ว ใครอย่ามาเถียงกัน”

                   .........................................................................................................

 
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่ง

พระเครื่องแนะนำ

25-2-66
พระบูชารูปเหมือนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เจริญ


โชว์ บาท

25-2-66
พระรูปเหมือนใบธิ์ เนื้อนวโลหะ ปี 2512 แบบตอกโค๊ด


30000 บาท

25-2-66
พระนาคปรกใบขนุนเนื้อชินสังฆวานร พระสวยเดิม


9500 บาท

25-2-66
พระนาคปรกใบโพธิ์ 7 เศียร พิมพ์เล็กเนื้อนวโลหะ


AC บาท
บูชาแล้ว

25-2-66
เหรียญกนกข้างพิมพ์ใหญ่บล็อก ม.มีจุด (นิยม)


18500 บาท

25-2-66
พระไตรภาคีพิมพ์รูปเหมือนใหญ่เลี่ยมทองอย่างหนา


BD บาท
บูชาแล้ว

24/2/2566
พระปิดตา พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ เนื้อผงใบลาน ฝังตะกรุด


57000 บาท

24/2/2566
เหรียญเขียวในโลง หายาก เป็นเหรียญที่ใส่ไว้ในโลงท่านฯ


โทรถาม บาท

24/2/2566
พระสมเด็จ 3 ชั้นหลังยันต์นูน (เนื้อน้ำอ้อย)พิมพ์จัมโบ้


8000 บาท

21/02/66
เหรียญหลังเต่ารุ่นแรก บล็อกยันต์เคลื่อน


48000 บาท

6/10/65
เหรียญเขียวในโลง (เหรียญเอเชียนเกมส์) หายาก


โทรถาม บาท

6/10/65
พระผงหลวงพ่อพรหม รุ่นฉลองมณฑป พิมพ์ระฆังใหญ่


โทรถาม บาท

9/8/65
พระกริ่งสายฟ้า ตอกโค๊ต 1 ตัว


โทรถาม บาท

28/06/63
พระบูชารูปเหมือนท่านเจ้าคุณนรฯ รุ่นแรกหน้าตัก 5 นิ้ว


โทรถาม บาท

27/12/61
ออกใบรับรองพระแท้ ตอนนี้ท่านสามารถออกใบรับรองพระแท้ได้แล้วนะครับ ในนามร้านศักดิ์ ตลิ่งชัน


บาท

27/12/61
ออกใบรับรองพระแท้ ตอนนี้ท่านสามารถออกใบรับรองพระแท้ได้แล้วนะครับ ในนามร้านศักดิ์ ตลิ่งชัน


บาท

27/12/61
ออกใบรับรองพระแท้ ตอนนี้ท่านสามารถออกใบรับรองพระแท้ได้แล้วนะครับ ในนามร้านหมีพูห์ ปู่ทิม


บาท

27/12/61
ออกใบรับรองพระแท้ ตอนนี้ท่านสามารถออกใบรับรองพระแท้ได้แล้วนะครับ ในนามร้านโต้ ท่าพระจันทร์


บาท

19/12/61
เหรียญหลังเต่า บล็อกยันต์เคลื่อน สภาพสวยเดิม ๆ จมูกโด่ง ผิวดี สภาพนี้หายากแล้วครับ


G บาท
บูชาแล้ว

3/10/61
พระสมเด็จวัดวิเวกวนารามหลังยันต์นูนปั้มยันต์หมึก


โทรถาม บาท

22/9/60
พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์เตารีดหลังยันต์ เนื้อตะกั่วชุบทอง สภาพสวยเดิม ๆ


โทรถาม บาท

25/07/2560
เหรียญเม็ดแตง หน้าผาก 3 เส้นปีกกา หัวขีด มาพร้อมเลี่ยมจับขอบฝังเพชร


โทรถาม บาท

26-04-60
ออกใบรับรองพระแท้
ตอนนี้ท่านสามารถออกใบรับรองพระแท้ได้แล้วนะครับ ในนามร้านศักดิ์ ตลิ่งชันในสายพระเครื่องของท่านเจ้าคุณนรฯ


โทรถาม บาท

11-4-60
ขันน้ำมนต์ วัดเทพศิรินทราวาส สร้างปี 2495 สภาพสวยเดิม ๆ สร้างน้อย


โทรถาม บาท

1-2-60
เหรียญกนกข้างพิมพ์ใหญ่ เนื้อเงิน บล๊อกนิยมสวยมาก มาพร้อมตลับทอง


โทรถาม บาท

พระเครื่องแนะนำทั้งหมด